AIRThailand แนะนำแอร์ รีวิวเครื่องปรับอากาศ ดีที่สุด

อัพเดทข่าวสาร ความรู้ ทุกเรื่องเกี่ยวกับแอร์ และเครื่องปรับอากาศ

น้ำยาแอร์บ้านเบอร์อะไร

น้ำยาแอร์บ้านเบอร์อะไร

สารทำความเย็นหรือน้ำยาแอร์  เป็นสารเคมี ที่จะใช้เพื่อการทำงานใน ระบบปรับอากาศ และ ระบบทำความเย็น เมื่อไหลผ่านคอมเพรสเซอร์และคอยล์เย็น จะช่วยดูดซับปริมาณความร้อน กับความร้อนแฝง เพื่อเปลี่ยนอุณหภูมิ และความดัน ให้ต่ำลงและกลายเป็น ความเย็น แต่ในส่วนของความร้อน จะถูกถ่ายเท ผ่านคอนเดนเซอร์ หลังจากนั้นจะถูกกลั่น ให้กลับมาป็นสถานะเดิม เพื่อกลับเข้าสู่ระบบ และทำหน้าที่ดังเดิม ซึ่งวันนี้มาทำความรู้จักกับ สารทำความเย็นหรือน้ำยาแอร์กันว่ามีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีลักษณะอย่างไร

น้ำยาแอร์ปัจจุบันที่ใช้กันจะมีอยู่ 3 ประเภทหลัก ๆ

น้ำยาแอร์ เป็นสารเคมีที่อยู่ในแอร์ ซึ่งมีไว้ใช้สร้างความเย็นให้กับแอร์ โดยน้ำยาแอร์ปัจจุบันที่ใช้กันอยู่ในประเทศไทยจะมีอยู่ 3 ประเภทหลักๆ ได้แก่ R22, R410A และ R32 ซึ่งน้ำยาแอร์แต่ละชนิดนั้นก็มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไป โดยการเลือกใช้จะต้องคำนึงถึงค่า ODP (ดัชนีวัดการทำลายโอโซน), GWP (ดัชนีชี้วัดผลกระทบภาวะโลกร้อน), Cooling Capacity (ประสิทธิภาพการทำความเย็น) ซึ่งแต่ละค่ามีผลต่อการทำความเย็นและสภาพแวดล้อม ซึ่งแต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกัน

1.สารทำความเย็น R22

คือหนึ่งในสารทำความเย็นที่นิยมใช้มากที่สุดในระบบทำความเย็น R22 เป็นชื่อย่อของสารประกอบฮาโลคาร์บอน (Halocarbon) ClCF2H เมื่อถูกใช้เป็นสารทำความเย็นโดย R จะหมายถึง Refrigerant หรือสารทำความเย็น และสำหรับเลข 2 หมายถึงจำนวนอะตอมของฟลูออรีนในสารประกอบ  R22 มีคุณสมบัติที่สามารถทำอุณภูมิต่ำสุดได้ถึง -40.80 ºC ด้วยอุณหภูมิจุดเดือดที่ต่ำที่ความดันบรรยากาศสารทำความเย็นชนิดนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาสำหรับระบบทำความเย็นทั่วไปทั้งในที่อยู่อาศัย ห้องเย็นที่เก็บรักษาวัตถุดิบห้องเย็นเก็บสินค้า ปลอดภัยต่อการใช้งานโดยไม่มีพิษ ไม่ติดไฟ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ทำให้ระบบทำความเย็นมีความปลอดภัยสูง แม้ว่า R22 จะสามารถผสมกับน้ำมันหล่อลื่นได้ค่อนข้างง่ายเมื่ออยู่ในสภาวะอุณหภูมิและความดันสูงในคอนเดนเซอร์ แต่เมื่อสารทำความเย็นดังกล่าวเดินทางไปถึง อีวาโปเรเตอร์ น้ำมันที่ปนอยู่กับสารทำความเย็นจะแยกตัวออกไป แต่ในปัจจุบันน้ำมันหล่อลื่นถูกพัฒนาให้ดีขึ้นโดยจะไม่ปนกับ R22 ในขณะทำความเย็น ทำให้ง่ายต่อการทำความเย็นมากขึ้น

2.สารทำความเย็น R410A

สารทำความเย็นแบบใหม่ หรือ HFC (ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน) คือสารที่ไม่มีส่วนผสมของคลอรีน (cl) ซึ่งไม่ทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ ในเวลานี้คือน้ำยา R410A ซึ่งมีคุณสมบัติเด่น คือ มีประสิทธิภาพการทำความเย็นสูง (COP : Coefficient of Performance) เป็นสารทำความเย็นที่ไม่ติดไฟ นิยมใช้อย่างแพร่หลายทั้งในยุโรปและอเมริกา เพราะปริมาณการใช้เครื่องปรับอากาศที่เพิ่มมากขึ้นตลอดเวลาจึงมีการปล่อยก๊าซหรือสารที่ ทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ อันเปรียบเสมือนเกราะที่คอยกั้นความร้อนจากแสงของดวงอาทิตย์และรังสีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก ซึ่งนับวันยิ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมรุนแรงมากขึ้นการเล็งเห็นถึงผลกระทบดังกล่าว จึงมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเทคโนโลยีและริเริ่มการเปลี่ยนแปลง มาใช้สารทำความเย็นที่ไม่ทำลายโอโซนในเครื่องปรับอากาศเครื่องปรับอากาศที่ใช้สารทำความเย็นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สุดในปัจจุบัน ทั้งในรุ่นทั่วไป (Fix Speed) และรุ่นระบบอินเวอร์เตอร์ (Inverter System) นอกจากนี้ยังมีข้อดีคือ ใช้ปริมาณน้ำยาน้อยลงมาก มีแรงดันของน้ำยามากกว่าน้ำยาแอร์เบอร์ R-22 อีกทั้งช่วยให้ระบบปรับอากาศมีประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น และคุณภาพของเสียงของเครื่องปรับอากาศอยู่ในเกณฑ์ดี จากทั้งหมดที่กล่าวมา ทำให้น้ำยาแอร์ R410a มีลักษณะเด่นที่ชัดเจนดีกว่าสารทำความเย็นชนิดอื่น ๆ

3.สารทำความเย็น R 32

เป็นน้ำยารุ่นใหม่ล่าสุด ที่ไม่ทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศและทำให้เกิดสภาวะโลกร้อนน้อยกว่า R410A มากถึง 3 เท่า ให้ประสิทธิภาพทำความเย็น(Cooling Capacity) สูงกว่าน้ำยาแอร์ R22 และ R410A ทำให้แอร์เย็นเร็วกว่าและประหยัดไฟกว่า น้ำยาแอร์ R32 นั้นมีราคาถูกกว่า R410A

ในเวลาที่น้ำยาแอร์ขาด สามารถเติมน้ำยาแอร์เข้าไปได้เลย ไม่ต้องเอาของเก่าออก แต่มีข้อเสียที่ติดไฟได้เล็กน้อย ต่างจากน้ำยาตัวอื่นๆ ที่ไม่ติดไฟ ซึ่งนำมาใช้ในแอร์ขนาดเล็กที่ต่ำกว่า 24000 บีทียู

การเดินทางของสารทำความเย็นในระบบทำความเย็น

สารทำความเย็นจะเดินทางเป็นวัฏจักรผ่านอุปกรณ์ทำความเย็นด้วยสถานะ อุณหภูมิและความดันที่เปลี่ยนไปอยู่ตลอด เพื่อนำเอาความร้อนและความร้อนแฝงออกจากพื้นที่ที่ต้องการทำความเย็น

การเดินทางของสารทำความเย็นเริ่มเมื่ออุปกรณ์ควบคุมสารทำความเย็นหรือวาล์วลดความดัน(Expansion Valve)ฉีดสารทำความเย็นไปที่อุปกรณ์ทำความเย็นอีวาโปเรเตอร์ (Evaporator) ที่กำลังดูดความร้อนจากพื้นที่ภายในที่จะทำความเย็น (Inside Area Being Cooled)เข้ามา ทำให้สารทำความเย็นในสถานะที่เป็นของเหลวรับความร้อนจนเดือดเปลี่ยนสถานะเป็นไอที่ความดันต่ำ

โดยในขณะที่สารความเย็นมีสถานะเป็นไอนี้จะสามารถดูดซับความร้อนจากบริเวณที่ต้องการทำความเย็นรอบๆ อีวาโปเรอเตอร์โดยอาศัยอากาศและน้ำเป็นสื่อกลาง จากนั้นสารทำความเย็นนี้จะเดินทางไปต่อที่คอมเพรสเซอร์ (Compressor) เพื่ออัดให้มีความดันสูงขึ้น

ก่อนจะเดินทางต่อไปที่คอนเดนเซอร์ (Condenser) เพื่อระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็นและทำให้สารทำความเย็นเกิดการควบแน่นเปลี่ยนสถานะมาเป็นของเหลวอีกครั้งโดยที่ความดันยังคงสูงอยู่ ก่อนสารความเย็นจะกลับไปสู่วาล์วลดความดัน (Expansion Valve) เพื่อลดความดันของสารทำความเย็นให้กลับสู่สภาพพร้อมใช้งานอีกครั้งและจะวนเป็นวัฏจักรแบบนี้ไปเรื่อยๆ ด้วยการทำงานในระบบทำความเย็นทำให้คุณสมบัติของสารทำความเย็นทางเทอร์โมไดนามิกส์โดยทั่วไปที่ดีต้อง

-มีความร้อนแฝงในการกลายเป็นไอสูง

-อุณหภูมิจุดเดือดต่ำ

-อุณหภูมิวิกฤติค่อนข้างสูง

-ความดันในการกลายเป็นไอสูงกว่าความดันบรรยากาศ

-ความดันควบแน่นปานกลาง

-ปริมาตรจำเพาะในสถานะแก๊สค่อนข้างต่ำ

ในการเลือกใช้น้ำยาแอร์ ควรเลือกให้ถูกต้อง ตรงตามสเปคของแอร์ชนิดนั้น ๆ ตามที่โรงงานได้กำหนดมา ไม่เช่นนั้นแล้ว นอกจากแอร์จะไม่มีความเย็นอาจจะทำให้คอมเพรสเซอร์พังได้ สำหรับท่านที่กำลังมองหาแอร์เพื่อติดตั้งใหม่ ก็พิจารณาด้วยว่าแอร์ชนิดนั้นใช้น้ำยาเบอร์อะไรข้อดี ข้อเสีย เป็นอย่างไร เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ซึ่งข้อมูลชนิดของน้ำยาแอร์ก็ได้กล่าวไว้แล้วในข้างต้น