เมื่อเครื่องปรับอากาศ เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็น หลายคนได้ศึกษาข้อดี ข้อเสียของแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อก่อนตัดสินใจซื้อ เพื่อจะได้เครื่องปรับอากาศที่เหมาะสมกับความต้องการของตัวเองมากที่สุด แต่น้อยคนที่จะรู้จักวิธีดูแลรักษาเครื่องปรับอากาศ เพื่อยืดอายุการใช้งานไว้ให้นาน ๆ ซึ่งในวันนี้เรามีเทคนิคง่าย ๆ ช่วยถนอมเครื่องปรับอากาศให้ใช้งานได้นาน ๆ มาฝากกัน และ ERROR CODE ของแอร์ เมื่อเกิดอาการเสียและโชว์สถานะขึ้นเป็น CODE ให้เราเห็น
ERROR CODE แอร์บ้านคือ รูปแบบสัญญาณไฟกระพริบ รหัสตัวเลขหรือตัวอักษรที่บอกถึงอาการเสียและการทำงานที่ ผิดปกติของแอร์บ้าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงของอาการเสียได้ง่ายขึ้น แอร์บ้านแต่ละแบรนด์นั้นก็จะมีก็ Error Code ที่แตกต่างกันออกไป ควรดูตามสเป็คและคู่มือให้ตรงตามแบรนด์นั้นๆด้วย และด้วยเทคโนโลยีความทันสมัยของแอร์ ทุกวันนี้เมื่อแอร์ขัดข้องมีปัญหา ก็จะมี ERROR CODE โชว์สถานะ เพื่อบอกว่าสาเหตุเกิดจากอะไรควรไปตรวจเช็คที่ใด ซึ่งก็จะง่ายต่อการซ่อมบำรุง
ERROR CODE ของแอร์เมื่อขึ้น F8 คืออะไร
แอร์ CENTRAL AIR F8 ความหมายคือ เซ็นเซอร์ FREEZ เสีย ให้แก้โดย เปลี่ยนเซ็นเซอร์ FREEZ
Eminent Air F8 ความหมายคือ เกิดกระแสไฟฟ้าเกิน/ความถี่ (เฮิร์ต ต่ำกว่าปกติ) ให้แก้โดย ตรวจเช็คระบบไฟว่าแรงดันปกติหรือไม่
เทคนิคการดูแลรักษาแอร์
1. หมั่นถอดล้างแผ่นกรองอากาศ
แผ่นกรองอากาศหรือฟิลเตอร์แอร์ เป็นชิ้นส่วนสำคัญที่คอยทำหน้าที่ดักจับฝุ่นละอองในอากาศไม่ให้เข้าไปถึงคอยล์เย็น หากไม่ทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอจะเกิดการสะสมอุดตันของฝุ่นและสิ่งสกปรกต่างๆ ส่งผลให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักและไม่เย็นเท่าที่ควร หรืออาจทำให้มีน้ำแข็งเกาะที่คอยล์เย็น และมีน้ำหยดจากตัวเครื่อง ฟิลเตอร์มีลักษณะเป็นแผ่นตะแกรงที่มักทำจากใยสังเคราะห์และมีโครงเป็นพลาสติก อยู่ใต้บริเวณหน้ากากหรือฝาหน้าของแอร์
2. ทำความสะอาดแผงคอยล์เย็น
แผงคอยล์เย็น มีลักษณะเป็นท่อที่ขดไปมาตามความยาวของเครื่องปรับอากาศ ซึ่งจะถูกห่อหุ้มไว้ด้วยแผ่นครีบอะลูมิเนียมบางๆ เป็นซี่ถี่ ทำหน้าที่เป็นตัวสร้างความเย็น โดยภายในจะมีสารทำความเย็นไหลเวียนอยู่ ทำงานร่วมกับพัดลมในการรับและส่งลมเย็นเข้าสู่ห้อง
เมื่อถอดหน้ากากของเครื่องออกจะเห็นแผงคอยล์เย็นได้ทันที บางรุ่นอาจอยู่บริเวณใต้ฟิลเตอร์ และจะสังเกตได้ถึงฝุ่นผงขนาดเล็กที่สามารถลอดผ่านฟิลเตอร์เข้ามา ซึ่งเมื่อนานไปจะจับตัวหนาขึ้นจนอากาศไม่สามารถผ่านเข้าไปได้ ทำให้ประสิทธิภาพของระบบทำความเย็นลดลงได้เช่นเดียวกับปัญหาฟิลเตอร์ตัน
3. กำจัดฝุ่นบริเวณใบพัดลมคอยล์เย็น
ใบพัดลมคอยล์เย็นหรือ โบลเวอร์ คือบริเวณที่มีลมเย็นออกมา มีลักษณะเป็นช่องๆ เรียงตัวตามแนวยาว ทำหน้าที่ช่วยให้เกิดการไหลเวียนของลม บริเวณนี้มักจะมีฝุ่นผงมาเกาะตัว ส่งผลให้ร่องดักลมของใบพัดอุดตัน ส่งลมเย็นออกไปได้น้อยลง ทำให้ต้องใช้เวลานานขึ้นในการทำความเย็น และเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เครื่องปรับอากาศกินไฟมากขึ้น นอกจากนี้ฝุ่นหนาที่จับตัวอาจทำให้ใบพัดมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นและเสียสมดุลจนเกิดเสียงดังขณะเครื่องทำงานได้
4. ล้างถาดรองรับน้ำทิ้งและตรวจสอบท่อน้ำทิ้ง
นอกจากแผงคอยล์เย็นและใบพัดลมคอยล์เย็น ถาดรองรับน้ำและท่อน้ำทิ้งก็เป็นอีกส่วนที่ควรได้รับการดูแลไปพร้อมกัน เพราะเป็นบริเวณที่น้ำที่เกิดจากการกลั่นตัวของไอน้ำไหลไปรวมกัน ซึ่งนานวันอาจเกิดเป็นเมือกและเป็นแหล่งสะสมของเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ที่ส่งผลต่อสุขภาพของคนในบ้านได้
5. หมั่นเช็ดทำความสะอาดบริเวณโครงเครื่อง หน้ากากรับลม และหน้ากากจ่ายลม
ตัวเครื่องปรับอากาศบริเวณที่เป็นโครงสร้างหรือพื้นผิวภายนอกนั้นควรมีการทำความสะอาดหรือใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดถูเป็นประจำ หรือจะถอดออกมาล้างก็ได้
6. ดูแลบริเวณชุดคอยล์ร้อนอย่าให้มีสิ่งกีดขวาง
ไม่ใช่แค่ชุดคอยล์เย็นเท่านั้นที่ต้องหมั่นดูแล ชุดคอยล์ร้อนที่อยู่บริเวณนอกบ้านเป็นอีกส่วนที่ไม่ควรละเลยเช่นกัน เพราะฝุ่นและสิ่งสกปรกต่างๆ อาจเข้าไปอุดตันหรือขัดขวางช่องทางระบายลมร้อนและส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องปรับอากาศ ทำให้เย็นน้อยลงหรือกินไฟมากกว่าปกติ
7. เปิดใช้งานเครื่องปรับอากาศเป็นระยะ
แม้จะเป็นช่วงฤดูหนาวที่อากาศไม่ร้อนหรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน ก็ควรคอยเปิดใช้งานเป็นระยะๆ เพื่อให้แน่ใจว่าตัวเครื่องยังทำงานเป็นปกติ และเพื่อป้องกันแมลงหรือสัตว์เล็กเข้าไปทำรัง ซึ่งอาจส่งผลต่อการทำงานของเครื่องและนำมาซึ่งกลิ่นอับหรือกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้
8. ลดภาระของเครื่องปรับอากาศให้มากที่สุด
ระหว่างเปิดใช้งานควรตรวจสอบหน้าต่างและประตูให้ปิดสนิท และไม่ควรใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้พลังงานความร้อนซึ่งจะส่งผลให้เครื่องปรับอากาศต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อลดอุณหภูมิห้อง เช่น ไมโครเวฟ เตาอบ หม้อหุงข้าว เป็นต้น
และด้วยเทคโนโลยีความทันสมัยของแอร์ ทุกวันนี้เมื่อแอร์ขัดข้องมีปัญหา ก็จะมี ERROR CODE โชว์สถานะ เพื่อบอกว่าสาเหตุเกิดจากอะไรควรไปตรวจเช็คที่ใด ซึ่งก็จะง่ายต่อการซ่อมบำรุง Error code แอร์ หรือรหัสโค้ดแอร์ คือรูปแบบสัญญาณไฟกระพริบ รหัสตัวเลข หรือตัวอักษรที่บอกถึงอาการเสีย จะแสดงโชว์ตอนที่ระบบเครื่องปรับอากาศมีความผิดปกติ เพื่อง่ายต่อการหาสาเหตุอาการเสีย และง่ายต่อการซ่อมบำรุง
ปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดจากคอยล์เย็นมีปัญหามีอะไรบ้าง
วันนี้เราได้รวบรวมสารพัดปัญหาของคอยล์เย็นแอร์ คอยล์เย็นแอร์บ้าน หรือแฟนคอยล์ เครื่องปรับอากาศที่มักจะเกิดขึ้นอยู่บ่อย ๆ พร้อมมาบอกคำแนะนำวิธีการแก้ปัญหาในเบื้องต้น
– ปัญหาบานสวิงมีเสียงดังเนื่องจากแกนพลาสติกเสียดสีกัน วิธีการแก้ไข ใช้จารบีเหลวทาในส่วนที่เสียดสีก็ช่วยลดปัญหาความดังไปได้
– ปัญหาเสียงดังมาจากมอเตอร์บานสวิง ด้วยปัญหาเสียงดังที่เกิดขึ้นมาจากมอเตอร์บานสวิงนั้นเกิดได้จากเฟืองด้านในรูดหรือกระทบกัน เกิดขึ้นได้จากการใช้มือดึงบานสวิงบ่อยๆทำให้อัตราทดเฟืองภายในมอเตอร์เสียหาย
– ปัญหามอเตอร์สวิงไม่ทำงาน เช็คสายไฟมอเตอร์ว่าขาดหรือไม่ ถ้าไม่ขาดมอเตอร์อาจจะเสียเอง ต้องเปลี่ยนใหม่
– รีโมทแอร์ไม่ทำงาน เกิดขึ้นได้จากถ่านหมด หรือไม่ก็ ขั้วถ่านสกปรก แก้ไขโดยเปลี่ยนถ่านและทำความสะอาดขั้วถ่านให้สะอาด
– ปัญหาแผงคอยล์เย็นรั่ว เกิดจากอยู่ใกล้น้ำทะเล ใกล้คลอง ใกล้น้ำทิ้ง ใกล้แหล่งโรงงานอุตสาหกรรมที่อาจจะปล่อยกรดหรือด่างที่ทำลายแผงรังผึ้งจึงทำให้รั่วในที่สุด อีกอย่างอาจเกิดจากอายุการใช้งานที่ใช้งานสะสมมาหลายปีโดนเกิดความชื้นอย่างต่อเนื่อง ก็รั่วได้เช่นกัน วิธีการแก้ไขถ้ารั่วที่แผงรังผึ้งไม่แนะนำให้ซ่อมเพราะว่าไม่ค่อยจบงาน เพราะถ้าแผงไม่เคยรั่ว แล้วจุดอื่น ๆ ก็จะรั่วตามมาในไม่ช้าแนะนำเวลาเปลี่ยนให้เอาสีสเปรย์ป้องกันสนิมฉีดวนไปที่จุดเสี่ยงด้านข้างแผงคอยล์ทองแดง เพื่อยืดอายุการใช้งานได้อีกระดับนึง
เป็นอย่างไรกันบ้าง สาระดี ๆ ที่นำมาฝากกันวันนี้ทั้งเรื่องการดูแลรักษาแอร์ว่า ควรจะปฏิบัติอย่างไรเพื่อที่จะยืดอายุการใช้งานของแอร์ได้นานที่สุด รวมทั้งเมื่อแอร์มีปัญหา โชว์สถานะ ERROR CODE F8 จะต้องไปตรวจเช็คที่ใด ซึ่งจะทำให้เรารู้และสามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุด ทั้งนี้อาจจะไม่ได้บ่งชี้ถึงตัวที่เสีย 100% ส่วนในเรื่องการปฏิบัติจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัย หากไม่มีความชำนาญไม่ควรจะดำเนินการเพียงลำพัง ควรปรึกษาหรือขอคำแนะนำจากช่าง เพื่อแก้ปัญหาจะดีกว่า