AIRThailand แนะนำแอร์ รีวิวเครื่องปรับอากาศ ดีที่สุด

อัพเดทข่าวสาร ความรู้ ทุกเรื่องเกี่ยวกับแอร์ และเครื่องปรับอากาศ

แอร์ขึ้น E4 คืออะไร

แอร์ขึ้น E4

เมื่อเครื่องปรับอากาศ เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็น หลายคนได้ศึกษาข้อดี ข้อเสียของแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อก่อนตัดสินใจซื้อ เพื่อจะได้เครื่องปรับอากาศที่เหมาะสมกับความต้องการของตัวเองมากที่สุด แต่น้อยคนที่จะรู้จักวิธีดูแลรักษาเครื่องปรับอากาศ เพื่อยืดอายุการใช้งานไว้ให้นาน ๆ  ซึ่งในวันนี้เรามีเทคนิคง่าย ๆ ช่วยถนอมเครื่องปรับอากาศให้ใช้งานได้นาน ๆ มาฝากกัน

เทคนิคการดูแลรักษาแอร์

1.  หมั่นถอดล้างแผ่นกรองอากาศ

แผ่นกรองอากาศหรือฟิลเตอร์แอร์ เป็นชิ้นส่วนสำคัญที่คอยทำหน้าที่ดักจับฝุ่นละอองในอากาศไม่ให้เข้าไปถึงคอยล์เย็น หากไม่ทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอจะเกิดการสะสมอุดตันของฝุ่นและสิ่งสกปรกต่างๆ ส่งผลให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักและไม่เย็นเท่าที่ควร หรืออาจทำให้มีน้ำแข็งเกาะที่คอยล์เย็น และมีน้ำหยดจากตัวเครื่อง ฟิลเตอร์มีลักษณะเป็นแผ่นตะแกรงที่มักทำจากใยสังเคราะห์และมีโครงเป็นพลาสติก อยู่ใต้บริเวณหน้ากากหรือฝาหน้าของแอร์

2. ทำความสะอาดแผงคอยล์เย็น

แผงคอยล์เย็น มีลักษณะเป็นท่อที่ขดไปมาตามความยาวของเครื่องปรับอากาศ ซึ่งจะถูกห่อหุ้มไว้ด้วยแผ่นครีบอะลูมิเนียมบางๆ เป็นซี่ถี่ ทำหน้าที่เป็นตัวสร้างความเย็น โดยภายในจะมีสารทำความเย็นไหลเวียนอยู่ ทำงานร่วมกับพัดลมในการรับและส่งลมเย็นเข้าสู่ห้อง

เมื่อถอดหน้ากากของเครื่องออกจะเห็นแผงคอยล์เย็นได้ทันที บางรุ่นอาจอยู่บริเวณใต้ฟิลเตอร์ และจะสังเกตได้ถึงฝุ่นผงขนาดเล็กที่สามารถลอดผ่านฟิลเตอร์เข้ามา ซึ่งเมื่อนานไปจะจับตัวหนาขึ้นจนอากาศไม่สามารถผ่านเข้าไปได้ ทำให้ประสิทธิภาพของระบบทำความเย็นลดลงได้เช่นเดียวกับปัญหาฟิลเตอร์ตัน

3. กำจัดฝุ่นบริเวณใบพัดลมคอยล์เย็น

ใบพัดลมคอยล์เย็นหรือ โบลเวอร์ คือบริเวณที่มีลมเย็นออกมา มีลักษณะเป็นช่องๆ เรียงตัวตามแนวยาว ทำหน้าที่ช่วยให้เกิดการไหลเวียนของลม บริเวณนี้มักจะมีฝุ่นผงมาเกาะตัว ส่งผลให้ร่องดักลมของใบพัดอุดตัน ส่งลมเย็นออกไปได้น้อยลง ทำให้ต้องใช้เวลานานขึ้นในการทำความเย็น และเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เครื่องปรับอากาศกินไฟมากขึ้น นอกจากนี้ฝุ่นหนาที่จับตัวอาจทำให้ใบพัดมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นและเสียสมดุลจนเกิดเสียงดังขณะเครื่องทำงานได้

4. ล้างถาดรองรับน้ำทิ้งและตรวจสอบท่อน้ำทิ้ง

นอกจากแผงคอยล์เย็นและใบพัดลมคอยล์เย็น ถาดรองรับน้ำและท่อน้ำทิ้งก็เป็นอีกส่วนที่ควรได้รับการดูแลไปพร้อมกัน เพราะเป็นบริเวณที่น้ำที่เกิดจากการกลั่นตัวของไอน้ำไหลไปรวมกัน ซึ่งนานวันอาจเกิดเป็นเมือกและเป็นแหล่งสะสมของเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ที่ส่งผลต่อสุขภาพของคนในบ้านได้

5. หมั่นเช็ดทำความสะอาดบริเวณโครงเครื่อง หน้ากากรับลม และหน้ากากจ่ายลม

ตัวเครื่องปรับอากาศบริเวณที่เป็นโครงสร้างหรือพื้นผิวภายนอกนั้นควรมีการทำความสะอาดหรือใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดถูเป็นประจำ หรือจะถอดออกมาล้างก็ได้

6. ดูแลบริเวณชุดคอยล์ร้อนอย่าให้มีสิ่งกีดขวาง

ไม่ใช่แค่ชุดคอยล์เย็นเท่านั้นที่ต้องหมั่นดูแล ชุดคอยล์ร้อนที่อยู่บริเวณนอกบ้านเป็นอีกส่วนที่ไม่ควรละเลยเช่นกัน เพราะฝุ่นและสิ่งสกปรกต่างๆ อาจเข้าไปอุดตันหรือขัดขวางช่องทางระบายลมร้อนและส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องปรับอากาศ ทำให้เย็นน้อยลงหรือกินไฟมากกว่าปกติ

7. เปิดใช้งานเครื่องปรับอากาศเป็นระยะ

แม้จะเป็นช่วงฤดูหนาวที่อากาศไม่ร้อนหรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน ก็ควรคอยเปิดใช้งานเป็นระยะๆ เพื่อให้แน่ใจว่าตัวเครื่องยังทำงานเป็นปกติ และเพื่อป้องกันแมลงหรือสัตว์เล็กเข้าไปทำรัง ซึ่งอาจส่งผลต่อการทำงานของเครื่องและนำมาซึ่งกลิ่นอับหรือกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้

8. ลดภาระของเครื่องปรับอากาศให้มากที่สุด

ระหว่างเปิดใช้งานควรตรวจสอบหน้าต่างและประตูให้ปิดสนิท และไม่ควรใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้พลังงานความร้อนซึ่งจะส่งผลให้เครื่องปรับอากาศต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อลดอุณหภูมิห้อง เช่น ไมโครเวฟ เตาอบ หม้อหุงข้าว เป็นต้น

และด้วยเทคโนโลยีความทันสมัยของแอร์ ทุกวันนี้เมื่อแอร์ขัดข้องมีปัญหา ก็จะมี ERRORCODE โชว์ เพื่อบอกว่าสาเหตุเกิดจากอะไรควรไปตรวจเช็คที่ใด ซึ่งก็จะง่ายต่อการซ่อมบำรุง

ตัวอย่าง ERROR CODE ของแอร์ยี่ห้อ CENTRAL AIR รุ่น IVG SERIES

1. E1 ระบบป้องกันแรงดันของน้ำยาสูงเกินปกติ 

การแก้ไข

-ตรวจสอบระดับน้ำยา

– เช็คความสกปรกและสิ่งกีดขวางที่คอนเดนซิ่ง ทำการล้างทำความสะอาดและนำสิ่งกีดขวางออก

2. E2 ระบบป้องกันการเป็นน้ำแข็ง

การแก้ไข

-เช็ครอยรั่ว เมื่อพบรอยรั่วควรทำการเชื่อมรั่ว

-หลังจากเชื่อมรั่วแล้ว ให้ทำการเวคคั่มเติมน้ำยาในระบบในปริมาณที่เหมาะสม

-ทำความสะอาดแฟนคอยล์ ฟิลเตอร์

3. E4 ระบบป้องกันอุณหภูมิสูงจากคอมเพรสเซอร์

การแก้ไข

-ตรวจสอบระดับน้ำยา , ตรวจสอบ CAPILLARY

-ตรวจสอบการระบายความร้อน และพัดลมระบายความร้อน

4. E5 ระบบป้องกันกระแสเกิน

การแก้ไข

-ตรวจสอบ MAIN POWER

-ตรวจสอบการระบายความร้อน

5. E6 การติดต่อสื่อสารระหว่างแฟนคอยล์และคอนเดนซิ่งมีปัญหา

การแก้ไข

-ตรวจสอบสายสัญญาณ

-ตรวจสอบแผง CONTROLLER BOARD

6. E8 ระบบป้องกันกระแสไฟฟ้าสูงกว่ากำหนด

การแก้ไข

-เช็คความสกปรกของคอนเดนซิ่งและสิ่งกีดขวาง

-ทำการล้างทำความสะอาดและนำสิ่งกีดขวางออก

7. H3 ระบบป้องกันกระแสของคอมเพรสเซอร์

การแก้ไข

-ตรวจสอบ DISCHARGE TEMP มากกว่า 110 องศา

-ตรวจสอบกระแส คอมเพรสเซอร์

8. H6 มอเตอร์แฟนคอยล์ไม่ทำงาน

การแก้ไข

-ตรวจสอบแผง PCB และสายไฟ

-ตรวจสอบมอเตอร์และทิศทางการหมุน

9. F1 แฟนคอยล์ อุณหภูมิเซ็นเซอร์ขาดหรือช็อต

การแก้ไข

-ตรวจสอบเซ็นเซอร์และสายต่อที่แผง PCB

10. F2 แฟนคอยล์ คอยล์เซนเซอร์ขาดหรือช็อต

การแก้ไข

-ตรวจสอบเซ็นเซอร์และสายต่อที่แผง PCB

11. F3 คอนเดนซิ่ง อุณหภูมิเซ็นเซอร์ขาดหรือช็อต

การแก้ไข

-ตรวจสอบเซ็นเซอร์และสายต่อที่แผง PCB

12. F4 คอนเดนซิ่ง คอยล์เซนเซอร์ขาดหรือช็อต

การแก้ไข

-ตรวจสอบเซ็นเซอร์และสายต่อที่แผง PCB

13. F5 ท่อฉีดน้ำยา เซนเซอร์ขาดหรือช็อต

การแก้ไข

-ตรวจสอบเซ็นเซอร์และสายต่อที่แผง PCB

14. F0 แอร์เป็นน้ำแข็ง / แอร์ไม่เย็น

การแก้ไข

-เช็ครอยรั่ว เมื่อพบรอยรั่วควรทำการเชื่อมรั่ว

-หลังจากเชื่อมรั่วแล้ว ให้ทำการเวคคั่มเติมน้ำยาในระบบในปริมาณที่เหมาะสม

แอร์แต่ละรุ่นอาจจะมี CODE ที่แตกต่างกัน แต่ถ้าเรารู้และเข้าใจ ERROR CODE ได้แล้ว การดูแลและซ่อมบำรุงแอร์ก็จะทำได้ง่ายขึ้น แก้ปัญหาได้ตรงจุด รวดเร็ว ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ทั้งนั้นการปฏิบัติจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัย หากไม่มีความชำนาญไม่ควรจะดำเนินการเพียงลำพัง ควรปรึกษาหรือขอคำแนะนำจากช่าง เพื่อแก้ปัญหาจะดีกว่า